ทำพอร์ต 10 หน้า ต้องมีอะไรบ้าง? อัปเดต 2565/2022
top of page

ทำพอร์ต 10 หน้า ต้องมีอะไรบ้าง? อัปเดต 2565/2022

Updated: Jun 22, 2022


portfolio

สำหรับน้อง ๆ ที่ อยากสอบติดรอบพอร์ต อยากยื่นพอร์ต ครั้งนี้ พี่แน๊ต TUTORRUS จะมาแชร์อัปเดตการทำพอร์ต 10 หน้าล่าสุด! ที่รวบรวมจากประสบการณ์ติวทำพอร์ตให้น้อง ๆ โดยตรง จนสอบติดมหา'ลัย ระดับ Top ประเทศทั้งภาคไทยและภาคอินเตอร์


เราลองมาดูกันว่าการทำพอร์ต ปี 65 มีอะไรที่ควรต้องรู้, พอร์ต 10 หน้าที่คณะต้องการนั้น มีอะไรบ้าง, มีข้อควรระวังอะไรในการทำพอร์ต 10 หน้าบ้าง ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลย!


ทำไมต้องทำพอร์ต 10 หน้า?

ก่อนอื่นเลย น้อง ๆ ควรต้องเข้าใจก่อนว่าเราจะทำพอร์ต 10 หน้าไปเพื่ออะไร? เพราะถ้าเราเตรียม Portfolio 10 หน้าไปอย่างไร้จุดหมาย จะทำให้ Portfolio ของเราไม่สามารถนำเสนอเรื่องราวได้ตรงใจกรรมการ หรือตรงกับวัตถุประสงค์ในการทำพอร์ตที่กรรมการมองหา ดังนั้นแล้ว คำถามที่ว่า “ทำไมต้องทำพอร์ต 10 หน้า?” คำตอบที่อยากให้น้อง ๆ จำเป็นคอนเซปต์ในการทำพอร์ตไว้ให้ดี คือ “สั้น ง่าย ได้ใจความ”


คีย์เวิร์ดทั้ง 3 คำ ในการทำพอร์ตนี้ คือคำตอบที่อธิบายได้ดีที่สุดเลย


1. สั้น

พอร์ต 10 หน้า คือพอร์ต ที่ต้องการแต่เนื้อหาสำคัญ ไม่เวิ่นเว้อ


2. ง่าย

พอร์ต 10 หน้า เป็นพอร์ตที่ดูแล้วเข้าใจง่าย ทั้งเรื่องของการนำเสนอ และการลำดับเรื่องราว กิจกรรมต่าง ๆ


3. ได้ใจความ

พอร์ต 10 หน้า ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า 10 หน้า นั่นหมายความว่าน้อง ๆ มีพื้นที่จำกัดในการนำเสนอเนื้อหาเพียง 10 หน้าเท่านั้น ดังนั้นทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ใน Portfolio ของเรา ต้อง “กระชับ” เพื่อให้กรรมการอ่านกวาดตาแล้วรู้เลยว่าเราเด่นด้านไหน มีดีเรื่องอะไร เรียกง่าย ๆ กว่า “กระชาก” สายตากรรมการให้มาสนใจที่พอร์ตของน้อง ๆ ได้นั่นเอง


พอร์ต 10 หน้า ต้องมีอะไรบ้าง?

เมื่อพูดถึงการทำพอร์ตโฟลิโอ คำถามยอดฮิตที่น้อง ๆ มักจะถามกันก็คือ "หน้าปก นับรวมในพอร์ต 10 หน้าไหม?" หลายคนแค่จะเริ่มทำพอร์ต เจอคำถามนี้ไปก็ติดแล้ว ดังนั้นพี่แน๊ต จะมาไล่ให้น้อง ๆ ดูกันก่อนว่า อะไรที่ไม่นับในพอร์ต 10 หน้า และอะไรที่นับลงไปในพอร์ต 10 หน้าบ้าง


ไม่นับในพอร์ต 10 หน้า

  1. ปกพอร์ต ไม่ว่าจะเป็น หน้าปก ปกรอง ปกหลัง ปกคั่นใด ๆ ก็ตาม ล้วนไม่นับใน 10 หน้าของพอร์ตโฟลิโอ

  2. คำนำ คำนำในพอร์ต คือ การเกริ่นถึงที่มาที่ไปของพอร์ตโฟลิโอของเรา หรือแม้กระทั่งการขอบคุณผู้ที่มีส่วนช่วยให้คำแนะนำหรือสนับสนุนให้เกิดพอร์ตโฟลิโอนี้ได้ ซึ่งในส่วนนี้ยังไม่นับว่าเป็นสาระที่จะเข้าไปอยู่ใน 10 หน้าของเรา สบายใจได้ค่ะ

  3. สารบัญ สารบัญเป็นเพียงการจัดหมวดหมู่ รวบรวมเนื้อหาว่าอะไรอยู่หน้าไหนเท่านั้น จะไม่ทำก็ได้ เพราะทั้งเล่มมีแค่ 10 หน้าเอง ฉะนั้นสารบัญ ไม่นับรวมในพอร์ต 10 หน้าเช่นกัน

  4. Thank you ปิดท้ายที่หน้า Thank you ที่น้อง ๆ ชอบทำกัน นอกเหนือจากปกหลัง หน้า Thank you ในพอร์ตนี้ เป็นเหมือนแค่การบอกลา ว่าถึงจุดสิ้นสุดของพอร์ตโฟลิโอนี้แล้ว ขอบคุณที่ให้ความสนใจ ไม่เข้าพวกในพอร์ต 10 หน้า

4 อย่างนี้ จะไม่นับรวมในพอร์ต 10 หน้ากันนะคะ สบายใจได้ ฉะนั้นใครที่อยากใส่เข้าไป อยากตกแต่งพอร์ตให้เต็มที่ หน้าปก คำนำ สารบัญ Thank you เต็มที่ได้เลย!



นับลงในพอร์ต 10 หน้า


เมื่อรู้ว่าอะไรไม่นับ ก็ช่วยให้น้อง ๆ ทำพอร์ตได้สบายใจระดับหนึ่งแล้ว ต่อมาคือสิ่งที่เราต้องใส่เข้าไปพอร์ตกันนะคะ

หน้าที่ 1 : ประวัติส่วนตัว

  • จัดเต็มกับข้อมูลส่วนตัวของเราได้เลย ชื่อ-สกุล ที่อยู่ เบอร์โทร ฯลฯ

  • รูปภาพต้องชัดเจน

  • จะเป็นประวัติส่วนตัว หรือแนะนำตัวเองก็ได้เช่นกันนะคะ


หน้าที่ 2 : ประวัติการศึกษา

  • เรียงเป็น Timeline กันมาได้เลย ว่าเรียนที่ไหนบ้าง ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย


หน้าที่ 3 : เหตุผลที่เลือกเรียนในคณะ/สาขานี้

  • เล่าถึงเหตุผลที่อยากศึกษาต่อในคณะหรือสาขานั้น ๆ ซึ่งตรงนี้เป็นส่วนที่สำคัญมาก หลายคนเลือกที่จะเปิดเว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อดูตัวอย่างและเขียนตามหรือดัดแปลงมาเป็นตัวเองสักเล็กน้อย แต่ที่จริงแล้วส่วนนี้คือส่วนที่สำคัญมากๆๆๆ ที่พี่ย้ำกับน้องในคอร์สติวพอร์ตเสมอว่า เทคนิคการเขียน เหตุผล และการเรียงลำดับเพื่อเล่าเหตุผลที่อยากเข้าศึกษา หรือ SOP (Statement of Purpose) คือส่วนที่สำคัญไม่แพ้กิจกรรมและใบประกาศนียบัตรในพอร์ตเลย

  • ปกติแล้วเวลาน้อง ๆ ส่ง SOP มาให้ตรวจ จะต้องโดนแก้กันอยู่หลายรอบเลยแหละ เพราะกว่าจะออกมาดีได้ ต้องนำเสนอและใช้เทคนิคอย่างมากเลย เพื่อให้เรามีโอกาสมากที่สุดที่จะสะกดสายตากรรมการได้ตั้งแต่หน้านี้เลย

ตัวอย่างการตรวจ SOP ที่ผ่านมา


หน้าที่ 4–7 : รางวัล ผลงาน และเกียรติบัตร

  • ไม่จำเป็นต้องใส่ทุกอย่าง เน้นกิจกรรมที่สำคัญเข้ามาในพอร์ตก็พอแล้ว

  • หากใครไม่มีรางวัลและผลงานเลย ไม่ต้องเสียใจ ยิ่งเป็นช่วง COVID-19 แล้วด้วย กิจกรรมต่าง ๆ ที่ให้ทำอาจจะมีน้อยลง ซึ่งถ้าใครไม่มีสามารถข้ามส่วนนี้ไปได้ แล้วใช้กิจกรรมเข้ามาแทนได้เลยค่ะ


หน้าที่ 8–10 : กิจกรรม

  • กิจกรรมเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการทำพอร์ต

  • หากิจกรรมที่เกี่ยวข้อง อย่าใส่ทุกอย่างที่มี

  • วิธีเพิ่มกิจกรรมลงพอร์ต เป็นเทคนิคสำคัญที่น้อง ๆ ควรต้องรู้ ถ้ายิ่งไม่มีกิจกรรม ก็ยิ่งต้องหามาเพิ่มให้ได้ นี่เป็นสิ่งที่พี่คอยย้ำน้อง ๆ เสมอ ไม่เช่นนั้นแล้ว พวกเราจะไม่มีจุดต่างจากคนอื่นเลยค่ะ

หมายเหตุ

บางคณะอาจมีระบุไว้เพิ่มเติมว่าหน้าไหน ต้องใส่อะไรเพิ่มบ้าง เช่น ใบปพ. อย่าลืมไปเช็คกันดูอีกทีด้วยนะคะ


สรุป

พอร์ตโฟลิโอทั้ง 10 หน้า ควรจะคิดให้ดีกว่าจะใส่อะไรลงไปบ้าง เพราะมีจำนวนให้แค่ 10 หน้า ลองดูไอเดียตามที่สรุปไว้ให้ได้เลยนะคะ จุดสำคัญที่เราต้องโฟกัส คือ "เหตุผลที่อยากเข้าศึกษา และ กิจกรรมนั่นเอง" ส่วนถ้ารางวัลไม่มี ก็ไม่ต้องกังวล ให้ใส่กิจกรรมเข้าไปได้เลย แล้วลองทำพอร์ตให้น่าสนใจที่สุดดูค่ะ ทุกคนมีโอกาสสอบติดรอบพอร์ตแน่นอนค่า!


“Portfolio ยังไม่ดี ให้พี่ ๆ TUTORRUS ช่วยดีกว่า” เรามีทีมสอนมืออาชีพเฉพาะทางที่มีประสบการณ์กว่า 10 ปี เพื่อทำพอร์ตยื่นเข้ามหา'ลัยในไทยและต่างประเทศ

1. รวมทุกเทคนิค เพิ่มกิจกรรมลง Portfolio

2. วิธีนำเสนอกิจกรรมและประวัติของแต่ละคนอย่างมืออาชีพ

3. เราจะเปลี่ยน Profile ของน้อง ๆ ให้เป็นคนที่กรรมการมองหามากที่สุด!

4. ไม่เก่งดีไซน์ ไม่ใช่ปัญหา! เราจะช่วยแนะนำทุกอย่าง ทุกขั้นตอน


รวบรวมทุกเทคนิคในการทำพอร์ต กว่า 42 บทเรียน ให้ทำพอร์ตได้ไม่ซ้ำกับคนอื่น


(การันตีด้วย สถิติสอบติด 100% จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ มศว. ฯลฯ ตั้งแต่ปีแรกที่เปิดรับรอบพอร์ต รับรองว่าเทคนิคแน่น ให้เคล็ดลับเด็ด ๆ มากกว่าที่คิดแน่นอน)



รีวิวพอร์ต



bottom of page