เทคนิคสอบติดรัฐศาสตร์ (ฉบับคนเรียนไม่เก่ง)
top of page

เทคนิคสอบติดรัฐศาสตร์ (ฉบับคนเรียนไม่เก่ง)

Updated: Sep 9, 2019

สวัสดีครับน้องๆ พี่ชื่อพี่เดิ้ล TUTORRUS นะครับ ตอนนี้กำลังศึกษาอยู่คณะรัฐศาสตร์ สาขาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บล็อกนี้พี่จะมาแนะนำคณะพร้อมกับการเตรียมตัวสอบเข้ารัฐศาสตร์ ให้น้องๆที่สนใจเข้าศึกษาต่อครับ



คณะรัฐศาสตร์ ภาคไทย


คณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์จะมีสาขาที่เปิดรับสมัครอยู่ 3 สาขา ได้แก่ การเมืองการปกครอง การระหว่างประเทศ และบริหารรัฐกิจ โดยเฉลี่ยแล้วแต่ละปีมีผู้สนใจเข้าศึกษาต่อที่นี้มากกว่า 3,000-4,000คนในแต่ละปี แต่มีจำนวนที่เปิดรับให้ได้เข้าศึกษาต่อเพียงสาขาละ 50 ที่นั่ง


รัฐศาสตร์ สาขาไหน Hot ที่สุด?

ในทุกๆปีสาขาที่น้องๆมักจะนิยมสมัครมากที่สุดอันดับ 1 คือ สาขาการระหว่างประเทศ ซึ่งในปีที่พี่สอบคัดเลือกมีจำนวนผู้สมัครมากถึง 2พันกว่าคน อันดับที่ 2 รองลงมาคือ สาขาการเมืองการปกครองที่พี่กำลังศึกษาอยู่ มีผู้สมัครสอบประมาน 1,300คน ส่วนลำดับสุดท้าย อันดับ 3 คือ สาขาบริหารรัฐกิจ มีจำนวนประมาณ 950 คนครับ



คณะรัฐศาสตร์ ภาคอินเตอร์ (BIR/BMIR)


โครงการ BIR หรือ BMIR เป็นหลักสูตรควบปริญญาตรี-โท คณะรัฐศาสตร์ สาขาการเมืองและการระหว่างประเทศ ธรรมศาสตร์ (ภาคภาษาอังกฤษ) หลักสูตรแรก และหลักสูตรเดียวในประเทศไทยที่สอน วิชารัฐศาสตร์ เป็นภาษาอังกฤษ โดยมีจำนวนรับเพียง 100 คน ต่อปี (TCAS รอบ 1 และ 3) โดยข้อสอบจะมีทั้งแบบ Multiple Choice, Matching, Short Essay, etc. ขึ้นอยู่กับแต่ละปี


สอบรัฐศาสตร์ ยากไหม?

อย่างที่รู้กันว่า คณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เป็นคณะในฝันของใครหลาย ๆ คน ดังนั้นในแต่ละปีจำนวนผู้สมัครสอบอาจจะไม่แน่นอน แต่สิ่งที่พี่อยากแนะนำน้อง ๆ คือ ความยากของข้อสอบ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้สมัคร มันอาจเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งในการแข่งขัน แต่คู่แข่งที่สำคัญของเรา ที่จะทำให้ ข้อสอบรัฐศาสตร์ยาก หรือไม่นั่น คือตัวของน้องเอง ฉะนั้น ”เราต้องแข่งขันกับตัวเราเอง”


รัฐศาสตร์เรียนอะไรบ้าง?

เมื่อน้องได้เข้ามาเรียนที่นี้แล้วนั้นไม่ว่าน้องจะศึกษาอยู่สาขาใดก็ตามจะต้องผ่านตัววิชาที่เป็นพื้นฐานเกี่ยวกับสาขาทั้งสามก่อนโดยแบ่งเป็น

1) รัฐศาสตร์เบื้องต้นของสาขาปกครอง 2) การบริหารรัฐกิจเบื้องต้นของบริหารรัฐกิจ และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้นของการระหว่างประเทศ โดยยังไม่นับรวมพวกกระบวนวิชาปรัชญาต่างๆที่ทั้งสามสาขาต้องเรียนด้วยกัน


ซึ่งท้ายสุดแล้ว รัฐศาสตร์ทั้งสามสาขาจะได้เรียนคล้าย ๆ กัน แต่อาจแตกต่างในเรื่องของเนื้อหาและกระบวนการสอนเพียงเท่านั้น เพราะอย่างนักศึกษา การเมืองการปกครอง จะเน้นในเรื่องของการเมืองภายในประเทศ ทำให้มุ่งเน้นเรื่องระบบต่าง ๆ ทางการเมือง ด้านนักศึกษา การระหว่างประเทศ รวมถึงโครงการ BIR/BMIR (รัฐศาสตร์ อินเตอร์) จะเรียนเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทั้งหมด ซึ่งทำให้หลาย ๆ คนมีความสนใจในสาขานี้ เพราะด้วยเนื้อหาต่าง ๆ ที่เรียนนั้นมีความสนุกและสร้างความเพลิดเพลินเป็นอย่างมาก


ส่วนนักศึกษา บริหารรัฐกิจ จะได้เรียนเกี่ยวกับการบริหารภาครัฐต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบงาน ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดในการทำงานได้ในอนาคตอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งได้ออกไปดูงานนอกสถานที่อยู่เป็นประจำอีกด้วย ซึ่งอย่างที่กล่าวไปในข้างต้น การเรียนในคณะรัฐศาสตร์ นี้นั้น จะคล้าย ๆ กัน แต่จะแตกต่างเพียงกระบวนการวัดผลและเนื้อหา ซึ่งโดยรวมแล้วพี่ก็เชื่อมั่นว่าไม่ว่าน้องๆจะเลือกสาขาไหนก็สามารถนำไปต่อยอดใช้ในอนาคตได้อย่างแน่นอนครับ


บรรยากาศการเรียน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รูปแบบการสอนและอาจารย์คณะรัฐศาสตร์

ต้องบอกก่อนว่าที่ คณะรัฐศาสตร์ ของเรา มีศาสตราจารย์มากที่สุดในประเทศไทย หากไม่เชื่อลองไปเปิดดูเว็บไซด์ของคณะดูได้เลยครับ เพราะส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่เป็นอาจารย์ผู้มีความรู้ความสามารถและมีผลงานทางวิชาการต่าง ๆ มากมาย พร้อมกับล้วนแล้วแต่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิทั้งนั้น ทำให้เนื้อหาที่นักศึกษาได้รับนั้นล้วนแล้วแต่มีคุณภาพและมีมาตรฐานที่สูง ซึ่งพี่รวมถึงเพื่อน ๆ ต้องแอบถอนหายใจกันอยู่หลายครั้งกับเนื้อหาสุดเข้มข้นที่ได้รับในหลาย ๆ วิชาที่คณะนี้


การเรียน คณะรัฐศาสตร์ BIR/BMIR ธรรมศาสตร์

เตรียมตัวสอบรัฐศาสตร์อย่างไร?

พี่ใช้เวลาเตรียมตัวทั้งหมด 2 ปีครับ ซึ่งบางคนอาจจะบอกว่านานมากเกินไปหรือไม่ ถึงตรงนี้พี่ขอบอกว่าไม่นานครับ และเช่นเดียวกันบางคนก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเตรียมนานเหมือนพี่ เพราะบางคน อย่างเช่นเพื่อนในรุ่นของพี่ บางคนก็ใช้เวลาเพียงแค่ 4-5 เดือนก่อนสอบ ก็สามารถพิชิตสนามสอบได้


แต่สาเหตุที่พี่ต้องเตรียมตัวสอบล่วงหน้าถึง 2 ปี เพราะว่าก่อนหน้านั้นพี่เป็นคนไม่ค่อยโฟกัสกับการเรียนทำให้เราหลุดกรอบการเรียนมากเกินเหตุ จนทำให้ผลการเรียนช่วงมัธยมต้นจึงอยู่ในช่วงตกต่ำและวิกฤติเป็นอย่างมาก พี่จึงได้สัญญากับตัวเองว่าจะขอตั้งใจเรียนในช่วงมัธยมปลายให้มากที่สุด เพื่อสร้างสิ่งดี ๆ ให้ตัวเองสักครั้ง โดยมีความหวังที่จะเข้า ศึกษาต่อที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ได้



"อยากติดรัฐศาสตร์ แต่ดันเรียนไม่เก่ง!"

ตลอดระยะเวลาเวลา 2 ปี ณ ตอนนั้น ต้องยอมรับว่ามันหน้กนะ ด้วยความที่พี่เป็นคนหัวไม่ค่อยไว อย่างแรกที่สุดที่พอจะทำได้ คือพยายามเรียนรู้อย่างค่อยเป็นค่อยไปครับ เพราะนั้นจะทำให้เราจดจ่อและสร้างความรู้สึกสนใจในเนื้อหาต่าง ๆ ได้ ซึ่งจุดนั้นเองทำให้พี่เริ่มเกิด passion ในการอ่านหนังสือ หรือเรียกได้ว่าเป็นการอารมณ์ที่ให้ดีเกิดขึ้น


ลองนึกภาพดูว่าในหลาย ๆ ครั้งหลาย ๆ วิชาที่เราเรียนกันเรามีจุดประสงค์เพื่ออะไร หลายคนอาจจะทำเพื่อหวังผลคะแนนที่ดี หรือบางคนอาจจะฝืนเพื่อต้องการให้จบวิชานี้โดยเร็ว แต่สำหรับพี่อารมณ์นั้นคือการตัดสินอนาคตชีวิตทางการศึกษาของพี่ ดังนั้นพี่จึงต้องพยายามกดดันตัวเองให้อ่านหนังสือโดยการสร้างอารมณ์ร่วมเหล่านี้ขึ้นมา ทำให้รู้สึกสนุก และมีจุดมุ่งหมายในการอ่านมากขึ้น


เทคนิคสอบติดรัฐศาสตร์

สเตปต่อมาที่พี่ทำ คือการตั้งเวลาอ่านหนังสือและเขียนปฎิทินวันสอบครับ

ในตอนนั้นพี่จำได้ว่าพี่ตั้งนาฬิกาจับเวลาไว้และเขียนปฎิทินนับถอยหลัง เพราะตอนนั้นมีหลาย ๆ ครั้งที่เวลาอ่านหนังสือแล้วรู้สึกท้อแท้ พี่ก็จะมักใช้ปฎิทินเพื่อเตือนสติตัวเองอยู่ตลอดเวลาให้ลุกขึ้นสู้กับจำนวนวันสอบที่ใกล้เข้ามาทุกขณะ


ส่วนการ อ่านหนังสือรัฐศาสตร์ พี่ก็พยายามจับเวลาอ่านให้ได้อย่างน้อย 1-2 ช.ม.ทุกวันเป็นอย่างน้อย และท้ายที่สุดของพี่ในการเตรียมตัวคือเรื่องของข่าวสารทั่วไป...



ข้อสอบรัฐศาสตร์ ออกอะไรเยอะ?

พี่ขอเน้นย้าว่าจุดนี้สำคัญมากเพราะ 60-70 % ของ ข้อสอบรัฐศาสตร์ ล้วนแล้วแต่เป็นข่าวในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาก่อนสอบ นั่นจึงทำให้พี่ต้องพยายามอัพเดทข่าวสาร ไม่ว่าจะเป็นการหาซื้อหนังสือสรุปข่าว โหลดแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับข่าวสาร รวมไปถึงการ เรียนพิเศษรัฐศาสตร์กับ TUTORRUS ที่ช่วยรวมข่าวสารให้ตลอดรอบปี จนกว่าจะถึงวันสอบ พร้อมเก็งข้อสอบรัฐศาสตร์ให้อีกด้วย


ซึ่งตรงนี้พี่คิดว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่ช่วยให้พี่สามารถ สอบติดคณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ได้อย่างที่ตั้งใจ ดังนั้นส่วนที่่สำคัญในการสอบติดคือ เนื้อหาทางรัฐศาสตร์ และอีกส่วนหนึ่งคือมาจากการติดตามข่าวสารนั้นเอง


มาถึงตรงนี้พี่ก็หวังว่า วิธีเหล่านี้จะเป็นคำแนะนำในเบื้องต้นให้แก่ว่าที่สิงห์แดงในอนาคตนะครับ และจำใว้เสมอว่าจงทำตัวให้ Work hard, Play harder อยู่เสมอ เพราะช่วงชีวิตในมัธยมปลายนั้นก็เป็นช่วงเวลาที่ดีช่วงหนึ่ง อย่าพยายามละทิ้งชีวิตม.ปลายเพื่อการเรียนจนมากเกินไปนะครับ หากจะเรียนรัฐศาสตร์ต้องรู้จักที่จะแบ่งทั้ง 2 ส่วนให้เหมาะสมเพราะนั้นคือคุณลักษณะที่ดีของว่าที่นักรัฐศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 ในมุมมองของพี่ครับ


“ความพยายามอยู่ที่ไหน...

ความสำเร็จก็อยู่ตรงนั้นแหละ”


พี่ได้ใส่ชุดธรรมศาสตร์สมใจแล้วนะครับ แล้วน้อง ๆ ละพร้อมกันรึยัง?



สอบติดรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ได้แล้วครับ ได้ใส่ชุดนักศึกษาและกลับมาถ่ายรูปกับติวเตอร์ของผมแล้ว ขอบคุณนะครับพี่แน๊ต




24,243 views
bottom of page