top of page

PBIC TU เรียนอะไร? พร้อมเกณฑ์การรับเข้าศึกษา TCAS

Updated: Aug 27



Blog นี้ พี่ ๆ TUTORRUS จะมารวมข้อมูลที่น่าสนใจของคณะดัง ด้านสังคมศาสตร์ของธรรมศาสตร์อย่าง PBIC TU ให้น้อง ๆ ได้รู้จักกันค่ะ


PBIC TU หรือ “วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์” มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


แบ่งออกเป็น 3 สาขาวิชา ดังนี้

1. Chinese Studies (จีนศึกษา)

2. Indian Studies (อินเดียศึกษา)

3. Thai Studies (ไทยศึกษา)


โดยหลักสูตรการเรียนการสอน จะเป็นการบูรณาการ 5 สาขาด้านสังคมศาสตร์ในรูปแบบสหวิทยาการ เข้าด้วยกัน ทั้งด้านสังคมวิทยา การเมืองการปกครอง หรือรัฐศาสตร์ ภาษาและวัฒนธรรม การจัดการและการใช้ข้อมูลอย่างเป็นระบบ และเศรษฐศาสตร์ หรือกลไกทางเศรษฐกิจ


PBIC เลือกวิชาที่ชอบเพิ่มเติมได้หลากหลาย
  • สนใจทำธุรกิจระหว่างประเทศ? สามารถเลือกเรียนวิชาการเจรจาธุรกิจ การบริหารการตลาดของจีนและอินเดีย ศิลปะในการนำเสนอและพูดในที่สาธารณะ ฯลฯ ได้

  • สนใจด้านภาษา? มีวิชาด้านภาษาอย่าง การอ่าน การแปล หรือการเขียน ในขั้นสูงเพิ่มเติม


เรียกได้ว่าเป็นคณะที่ตอบโจทย์ และครอบคลุมที่ศาสตร์การทำงานในอนาคตเลยค่ะ


เรียน PBIC แต่อยากไปแลกเปลี่ยนต่างประเทศ?

ทางคณะทั้ง 3 สาขา ได้มีการทำสัญญากับมหาวิทยาลัยคู่สัญญา

  1. จีนศึกษา: น้อง ๆ ปี 3 จะได้ไปแลกเปลี่ยนที่มหาวิทยาลัย Top 5 ในประเทศจีน เป็นเวลา 1 เทอม มหาวิทยาลัยคู่สัญญาก็คือ Peking University, Fudan University, Shandong University และ Shanghai International Studies University

  2. อินเดียศึกษา: เช่นเดียวกัน น้อง ๆ จะได้ไปแลกเปลี่ยนที่มหาวิทยาลัยจันดิการ์ และมหาวิทยาลัยมุสลิมอาลีการ์ ฯลฯ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในอินเดีย

  3. ไทยศึกษา: หากพูดถึง SOAS, University of London หลายคนอาจจะยังไม่คุ้นหู แต่ถ้าบอกว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่ออง ซาน ซูจี เป็นศิษย์เก่า หลาย ๆ คนคงเข้าใจได้ว่า SOAS เป็นมหาวิทยาลัยด้านสังคมศาสตร์อันดับ Top ใน UK มีชื่อเสียงด้าน area study ในภูมิภาคเอเชียโดยเฉพาะ ซึ่งน้อง ๆ ไทยศึกษา จะได้ไปแลกเปลี่ยนที่นี่ด้วยเช่นกัน


PBIC เรียนจบแล้ว ทำอาชีพอะไรได้บ้าง?
  • จบ PBIC ไป ทำอะไรได้หลายอย่างมาก ๆ เป็นเทรนด์ในปัจจุบันที่หลาย ๆ บริษัทต้องการตัว

  • อาชีพต่าง ๆ ที่ต้องการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ที่มีความรู้เรื่อง จีน อินเดีย และอาเซียน

  • ทำงานที่สถานทูต และองค์กรระหว่างประเทศ

  • เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานและองค์กรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน

  • นักธุรกิจระหว่างประเทศ

  • อาชีพด้านภาษาโดยตรง นักแปล ล่าม นักเขียน เป็นต้น

  • สื่อสารมวลชน

  • ฯลฯ


เกณฑ์การรับสมัคร TCAS63


Admission Requirements


1. Applicants must have completed or expected to complete a secondary school, Mathayom 6 or an equivalent e.g. GED / IGCSE / GCSE / GCE / IB / A-Level.

2. Applicants must have ONE of the following English proficiency test results (no more than two years prior to the application date)

English proficiency test Score

  • TU-GET (PBT) 500 คอร์สเรียน TU-GET

  • TU-GET (CBT) 61

  • IELTS (Academic) 6.0

  • TOEFL (IBT) 61

  • TOEFL (ITP, PBT) 500

  • Old SAT (Critical Reading) 350

  • New SAT (Reading and Writing) 350

  • GSAT (Verbal) 350

  • Total SAT 1100

3. For Chinese Studies Program, applicants must have HSK level 4, at least 180.



PBIC Admission Calendar


Round 1: Inter Portfolio

จำนวนรับ

  1. Chinese Studies 40 คน

  2. Indian Studies 5 คน

  3. Thai Studies 15 คน


กำหนดการรับสมัคร อ้างอิงช่วงเวลาจากทุก ๆ ปี

  • Online Application 1 Nov – 6 Dec

  • Interview 21 Dec

  • Announcement of Result 27 Dec


Round 2: Inter Portfolio II

จำนวนรับ

  1. Chinese Studies 20 คน

  2. Indian Studies 5 คน

  3. Thai Studies 5 คน


กำหนดการรับสมัคร อ้างอิงช่วงเวลาจากทุก ๆ ปี

  • Online Application 3 - 31 Jan

  • Interview 15 Feb

  • Announcement of Result 25 Feb


จะเห็นได้ว่า PBIC เปิดรับ รอบ Portfolio ถึง 2 รอบด้วยกัน

รู้แล้ว อย่าช้า รีบเตรียมตัวทำ Portfolio ไว้เลยนะคะ


TUTORRUS มีคอร์สเรียน Portfolio สถิติผู้สอบติด 100% แล้วน้อง ๆ จะเข้าใจว่า การสอบติดรอบ Portfolio ไม่ใช่แค่หน้าปกและดีไซน์สวย แต่ต้องมีเคล็ดลับอะไรที่มากกว่านั้น ดูรายละเอียดได้ทาง https://www.tutorrusstudy.com/portfolio

Round 3: Program Admission I

จำนวนรับ

  1. Chinese Studies 30 คน

  2. Indian Studies 5 คน

  3. Thai Studies 10 คน

กำหนดการรับสมัคร

  • Online Application 10 Feb - 10 Mar

  • Written Exam (Chinese Studies) 28 Mar (Morning)

  • Written Exam (Indian Studies) 28 Mar (Afternoon)

  • Written Exam (Thai Studies) 29 Mar (Morning)

  • Interview Exam 29 Mar (Afternoon)

  • Announcement of Result 7 Apr

PBIC จีนศึกษา สอบข้อเขียนอะไร?


มีการวัดประเมินผลสอบอยู่ 2 ส่วนหลัก ๆ คือ

คำถามวิเคราะห์ แสดงความคิดเห็น

ความรู้รอบตัว ทุกประเด็นที่เกี่ยวกับประเทศจีน

ซึ่งทั้งหมดนี้ น้อง ๆ ต้องวิเคราะห์และเขียน Essay ออกมาให้ได้อย่างถูกต้องตามหลัก Academic Writing สรุปประเด็นต่าง ๆ และนำมาต่อยอดในการสอบ

คอร์สเรียน PBIC จีนศึกษา คลิก https://www.tutorrusstudy.com/pbic


Round 4: Program Admission II

จำนวนรับ

  1. Chinese Studies 5 คน

  2. Indian Studies 5 คน

  3. Thai Studies 5 คน


กำหนดการรับสมัคร อ้างอิงช่วงเวลาจากทุก ๆ ปี

  • Online Application 7 Apr - 15 May

  • Interview 27 May

  • Announcement of Result 5 Jun

___________________________


สำหรับน้อง ๆ สนใจสอบเข้า PBIC อย่ารอช้า !

TUTORRUS พร้อมส่งน้อง ๆ ให้เป็นลูกแม่โดมอีกปี



30,700 views

コメント


bottom of page