PBIC TU คณะยอดฮิตสายสังคมศาสตร์ เรียนอะไร ? จบมาทำอะไรได้บ้าง ???
top of page

PBIC TU คณะยอดฮิตสายสังคมศาสตร์ เรียนอะไร ? จบมาทำอะไรได้บ้าง ???

Updated: May 12, 2023



น้อง ๆ ที่สนใจทางด้านสังคมศาสตร์ และมีความฝันอยากเข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต้องอ่าน Blog นี้เลย ถ้าพลาดไประวังจะเสียดายนะคะ เพราะวันนี้พี่แน๊ต TUTORRUS จะมาแนะนำให้น้อง ๆ ทุกคน รู้จักกับ “วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์” หรือ PBIC TU ว่าเรียนเกี่ยวกับอะไร ในแต่ละปีน้อง ๆ ต้องเรียนอะไรบ้าง และถ้าน้อง ๆ เรียนคณะนี้จบไปทำอาชีพอะไรได้บ้าง ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย…


วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์” หรือ PBIC TU คณะสุดฮิตที่ครองใจน้อง ๆ สายสังคมศาสตร์ เพราะคณะนี้มีการเรียนการสอนในรูปแบบบูรณาการทั้งทางด้านสังคมวิทยา รัฐศาสตร์ เศรษศาสตร์ ภาษาและวัฒนธรรม การจัดการ และการใช้ข้อมูลอย่างเป็นระบบ เรียกได้ว่าถูกใจน้องที่ชอบสายสังคมสุด ๆ ไปเลย และ PBIC TU นี้มีการเปิดรับทั้งหมด 4 รอบเริ่มที่รอบแรกคือรอบ Inter Port 1 รอบ 2 Inter Port 2 รอบ 3 Admission และรอบ 4 คือรอบ Inter Admission 2 ถ้าน้อง ๆ สงสัยว่าแต่ละรอบใช้สัดส่วนคะแนนอะไรบ้างสามารถคลิกที่นี่ได้เลยค่า

แอบกระซิบตรงนี้เลยนะคะว่าในทุกรอบน้อง ๆ จะต้องยื่นผลคะแนนภาษาอังกฤษด้วยนะคะ และข้อสอบภาษาอังกฤษส่วนใหญ่ที่น้อง ๆ เลือกสอบกันก็คือ TU - GET นั้นเอง


พี่ขอแนะนำให้น้อง ๆ เตรียมสอบ TU - GET ให้ดีนะคะ จะได้ติด PBIC TU ตามที่หวังไว้

เตรียมสอบ TU-GET แบบเข้มข้น เรียนจบพร้อมสอบภายใน 1 เดือน

และ PBIC TU นี้ก็มีด้วยกันทั้งหมด 2 สาขา คือสาขาจีนศึกษา และสาขาไทยศึกษา ซึ่งแต่ละสาขาก็มีความน่าสนใจไม่แพ้กันเลย

สาขาจีนศึกษา

สาขานี้มีการเรียนการสอนในรูปแบบสหวิทยาการ เหมาะสำหรับน้อง ๆ ที่สนใจทางด้านสังคมศาสตร์ และที่อยากพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษและภาษาจีน เพราะมีการเรียนการสอนทั้งภาษาอังกฤษและภาษาจีน นอกจากนี้น้อง ๆ จะได้รู้ประเทศจีนในทุกแง่มุมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมจีน เรียกได้ว่าเป็นสาขาที่น่าสนใจมาก ๆ เลยค่ะเพราะตอนนี้กระแสของประเทศจีนมาแรงจริง ๆ เรียนไปไม่ตกเทรนด์แน่นอนค่า

สาขาไทยศึกษา

สาขาจีนศึกษา และไทยศึกษาน่าสนใจทั้งคู่เลยใช่มั้ยคะ ถ้าน้อง ๆ อยากติดแบบปัง ๆ พี่ขอบอกก่อนเลยว่าน้อง ๆ ต้องเตรียมตัวให้พร้อมตั้งแต่รอบแรก ๆ เลยค่ะ เพราะว่าการแข่งขันค่อนข้างสูงเลย ถ้าน้อง ๆ เตรียม Portfolio ให้ปังโอกาสติด PBIC TU ก็จะมีมากขึ้นค่ะ เตรียมก่อน ติดก่อนไปเลยย ! ! !


ทำ Portfolio ให้ปัง Portfolio 10 หน้า มีอะไรบ้าง ? แจกเคล็ดลับทำ Portfolio ยังไงให้โดนใจกรรมการ

น้อง ๆ หลายคนตอนนี้อาจจะลังเลว่าตัวเองจะเลือกสาขาไหนดี พี่เลยสรุปเนื้อหาการเรียนเบื้องต้นมาให้ว่าแต่ละสาขาในแต่ละชั้นปีจะได้เรียนอะไรบ้าง เพื่อประกอบการพิจารณาว่าสาขาไหนจะเหมาะกับน้อง ๆ มากกว่ากัน ถ้าพร้อมแล้วมาเริ่มกันเลยย


ปี 1

ชีวิตเฟรชชี่ในรั้วมหาลัย น้อง ๆ จะเรียนประมาณ 6 วิชา/เทอม ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการเรียนวิชาความรู้ทั่วไป (วิชาTU) เทอมละ 5 วิชา รวมกับวิชาบังคับของเอกจีนที่จะเรียนเกี่ยวกับทักษะภาษาจีนเบื้องต้น เทอมละ 1 วิชา ค่ะ เรียกได้ว่าเป็นการปูพื้นฐานให้น้อง ๆ ไปในตัวเลยค่า

ปี 2

ปี 3

ปี 4



ปี 1

น้อง ๆ จะเรียนวิชาความรู้ทั่วไป (วิชาTU) และเรียนวิชาพื้นฐานของสาขาไทยศึกษาด้วยค่ะ เช่น วิชาพลเมืองกันความรับผิดชอบต่อสังคม โลก อาเซียน และไทย ทักษะการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ความรู้พื้นฐานทางปรัชญาพัฒนาการของโลกสมัยใหม่ รวมถึงน้อง ๆ จะได้พัฒนาทักษะในด้านการเขียนและการอ่านอีกด้วย

ปี 2

ปี 3

ปี 4

ถึงแม้ PBIC TU จะมีเพียง 2 สาขา เเต่คณะนี้ก็เพราะมีการเรียนการสอนในรูปแบบที่หลากหลาย และที่สำคัญมีการไปแลกเปลี่ยนที่มหาวิทยาลัยชั้นนำด้วยนะคะ และทางคณะก็มีการจัดกิจกรรมให้นักเรียนไทย และนักเรียนต่างชาติได้รู้จักกันมากขึ้นอีกด้วย น้อง ๆ ก็จะได้ฝึกทักษะทางด้านภาษา และมี Connection มากขึ้นค่ะ ทำให้คนที่เรียนจบ PBIC TU มีโอกาสทำอาชีพหลากหลายสาขาเลยค่ะ

  • เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถานทูต และองค์กรระหว่างประเทศ

  • ผู้ประกอบการและบุคคลากรในภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ

  • นักธุรกิจ

  • สื่อสารมวลชน

  • นักแปล ล่าม นักเขียน

  • อาชีพ อื่น ๆ ทางด้านภาษา และสังคมศาสตร์


สำหรับใครที่อยากติด PBIC TU อย่าลืมเตรียมตัวกันให้ดีนะคะ จะได้ไม่พลาดโอกาส ดี ๆ ค่ะ

เตรียมคะแนนสอบ TU - GET ก่อนยื่น PBIC TU

ปูพื้นฐานการเขียนแบบ Academic Writing ให้สอบติด PBIC TU อย่างมั่นใจ


น้อง ๆ ที่อยากติด PBIC TU แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มยังไง พี่ขอแนะนำให้น้อง ๆ เตรียมตัวทำ Portfolio

และปูพื้นฐานภาษาอังกฤษเพื่อยื่นคะแนนสอบ TU - GET กันนะคะ น้อง ๆ จะได้ติด PBIC TU ตามที่ตั้งใจไว้เพราะตอนนี้มีคนอยากเข้า PBIC TU เยอะมาก น้อง ๆ ที่อยากติด PBIC TU ต้องเตรียมตัวกันให้ดีเลยนะคะ เพราะการแข่งขันค่อนข้างสูงเลยค่ะ






บทความที่เกี่ยวข้อง




bottom of page