3 คณะสายศิลป์ยอดฮิต มธ. ที่ใช้คะแนน TU-GET
top of page

3 คณะสายศิลป์ยอดฮิต มธ. ที่ใช้คะแนน TU-GET



สำหรับน้อง ๆ ที่อยากเข้าธรรมศาสตร์ต้องเข้ามาอ่าน Blog นี้เลย เพราะวันนี้พี่แน๊ต TUTORRUS จะพาน้อง ๆ ไป ทำความรู้จัก 3 คณะสายศิลป์ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ใช้คะแนนสอบ TU–GET กันค่ะ น้อง ๆ ส่วนใหญ่แค่ได้ยินชื่อเสียงของคณะต่าง ๆ เหล่านี้แล้วอยากเข้ากันแบบสุด ๆ แล้ว ไปดูกันค่ะว่ามีคณะอะไรบ้าง

ใน Blog นี้พี่ได้รวมเกณฑ์การคัดเลือกของ 3 คณะนี้ไว้ให้น้อง ๆ เรียบร้อยแล้ว บอกเลยว่ารู้ก่อน เตรียมตัวก่อน ปังก่อนแน่นอนค่า








คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาการสื่อสารเชิงธุรกิจ หลักสูตรนานาชาติ (BC) เหมาะกับน้อง ๆ สนใจเรื่องธุรกิจ และอยากอัพสกิลภาษาให้เทพมากขึ้น เพราะคณะนี้มี ถึง 4 สาขา คือ ภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจ ภาษาจีนเชิงธุรกิจ ภาษาญี่ปุ่นเชิงธุรกิจ และภาษาเกาหลีเชิงธุรกิจ ซึ่งเกณฑ์การรับของทุกสาขากำหนดไว้ว่าน้อง ๆ จะต้องมีผลคะแนนภาษาอังกฤษ และหนึ่งในคะแนนภาษาอังกฤษยอดฮิตที่น้อง ๆ เลือกสอบกันก็คือ TU-GET เพราะว่าในเกณฑ์การรับรอบ Portfolio และ Inter Portfolio 2 ทุกสาขาต้องมีผลคะแนน TU-GET ให้คณะกรรมการได้พิจารณาค่ะ




เกณฑ์การคัดเลือกรอบ Inter Portfolio 2

Portfolio สาขาภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจ ต้องมีผลคะแนน TU-GET (CBT) ขั้นต่ำ 70 คะแนน Portfolio สาขาภาษาจีนเชิงธุรกิจ สาขาภาษาเกาหลีเชิงธุรกิจ และสาขาภาษาญี่ปุ่นเชิงธุรกิจ ต้องมีผลคะแนน TU-GET (CBT) ขั้นต่ำ 61 คะแนน TU-GET (PBT) ขั้นต่ำ 500 คะแนน

เกณฑ์การคัดเลือก รอบ Inter Admission 1 - 2

BC TU ถือว่าตอบโจทย์น้อง ๆ ที่อยากอัพสกิลภาษา และอยากเรียนรู้เรื่องธุรกิจมาก ๆ เลยค่ะ

น้อง ๆ คนไหนอยากติด BC พี่ขอแนะนำให้เตรียมตัวในการสอบให้ดีนะคะ เพราะการแข่งขันค่อนข้างสูงเลย







วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ (PBIC) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีชื่อเสียงเป็นอย่างมากในด้านสังคมศาสตร์ มีการเรียนในด้านสังคมวิทยา การเมืองการปกครอง หรือรัฐศาสตร์ ภาษา และวัฒนธรรม การจัดการ และเศรษฐศาสตร์ โดยคณะนี้มีด้วยกันทั้งหมด 2 สาขาคือ สาขาจีนศึกษา (Chinese Studies) เเละ สาขาไทยศึกษา (Thai Studies) น้อง ๆ ที่สนใจอยากทำงานสายสังคมไม่ว่าเป็นทำงานในสถานทูต องค์กรระหว่างประเทศ เจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน และองค์กรทั้งภาคัรัฐ ภาคเอกชน หรือนักแปล ล่าม นักเขียน คณะนี้ถือว่าตอบโจทย์สุด ๆ เลยค่ะ

สาขาจีนศึกษา (Chinese Studies)

เหมาะสำหรับน้อง ๆ ที่สนใจนโยบายต่าง ๆ ของจีน และบทบาทของจีนในแต่ละประเทศ น้อง ๆ ที่เลือกสาขานี้จะได้พัฒนาสกิลการสื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาจีนให้เก่งขึ้นค่ะ

สาขาไทยศึกษา (Thai Studies)

สำหรับน้อง ๆ ที่อยากติด PBIC มธ. อย่าลืมดูเกณฑ์การคัดเลือกในเเต่ละรอบต้องใช้คะแนนอะไรบ้าง เช็คความชัวร์กันให้พร้อม จะได้เตรียมตัวถูก เเละเตรียมตัวติดได้อย่างมั่นใจค่ะ




เกณฑ์การคัดเลือกรอบ Inter Portfolio 1 และ รอบ Inter Portfolio 2

ในรอบนี้จะต้องใช้ทั้งหมด 2 อย่างด้วยกัน คือ แฟ้มผลงาน (Portfolio) และ ผลคะแนนสอบมาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษ ซึ่งในส่วนของผลสอบภาษาอังกฤษที่ส่วนใหญ่น้อง ๆ เลือกสอบ จะเป็น TU-GET กันนั้น น้อง ๆ ต้องยื่นคะแนน TU-GET (PBT) ไม่ต่ำกว่า 500 คะแนน หรือ TU-GET (CBT) ไม่ต่ำกว่า 61 คะแนน

เกณฑ์การคัดเลือกรอบ Inter Program Admission 1 และรอบ Inter Program Admission 2

แอบกระซิบตรงนี้เลยนะคะว่าคะแนน TU-GET มีความสำคัญมากจริง ๆ ค่ะ น้องคนไหนที่อยากติดวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ (PBIC) อย่าลืมเตรียมตัวสอบ TU-GET กันให้ดีนะคะ








อีกหนึ่งคณะยอดฮิตที่ต้องมีคะแนนสอบ TU-GET เช่นเดียวกันนั้นคือ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน สาขาวิชาสื่อ หลักสูตรนานาชาติ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ BJM ซึ่งคณะนี้จะไม่มีการเลือกสาขา แต่น้อง ๆ จะได้เรียนเกี่ยวกับสื่อในทุกด้านตั้งแต่การผลิต สร้างสรรค์ ภาพยนตร์ โฆษณา ประชาสัมพันธ์หรือวิทยุและโทรทัศน์ เรียกได้ว่าถูกใจน้อง ๆ ที่ชอบลงมือปฏิบัติจริงสุด ๆ เลยค่ะ






เกณฑ์การคัดเลือกรอบ Inter Portfolio 1

น้อง ๆ ที่อยากติด BJM ต้องมีผลคะแนนมาตรฐานภาษาอังกฤษ TU-GET (PBT) ไม่ต่ำกว่า 550 คะแนน หรือ TU-GET (CBT) ไม่ต่ำกว่า 80 คะแนน

รอบ Inter Admission 1 และ Inter Admission 2


ถ้าน้อง ๆ สนใจอยากเข้า BJM เเต่ไม่รู้จะเตรียมตัวยังไง พี่ขอเเนะนำให้น้อง ๆ

ลองเริ่มต้นจากการฝึกทำ TU-GET ให้แม่น ๆ เพื่อที่จะได้ไม่พลาดกันนะคะ

ติดปัญหาในการทำ Portfolio ทำยังไงให้โดนใจกรรมการ ?

TUTORRUS มีทริคช่วยการทำ Portfolio ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป



การคัดเลือกเข้าศึกษาต่อของ 3 คณะยอดฮิตอย่าง BC PBIC และ BJM ในรอบ Portfolio และรอบ Inter Admission 1 -2 น้อง ๆ ต้องยื่นคะแนน TU-GET ตามเกณฑ์ที่คณะได้กำหนดเพื่อที่จะได้รับการรับพิจารณาในลำดับถัดไป ดังนั้นน้อง ๆ ต้องวางแผนเตรียมสอบ TU-GET ดี ๆ นะคะ





บทความที่เกี่ยวข้อง

bottom of page