เจอกันอีกครั้งสำหรับ Blog ความรู้ในการทำพอร์ตโฟลิโอนะคะ ครั้งนี้พี่แน๊ต TUTORRUS จะมาตอบคำถามที่น้อง ๆ ถามกันเข้ามาบ่อยในช่วงปีนี้ว่า "อยากยื่นพอร์ต แต่ไม่มีผลงาน ไม่มีกิจกรรม ต้องทำยังไงดี?" ใครที่ท้อ หาทางออกไม่ได้ ลองมาดู 3 เคล็ดลับเพื่อสร้างแรงฮึบในการทำพอร์ตกันค่ะ...
ใครเป็นบ้าง? กลับมาดูผลงานตัวเองแล้วท้อใจ ไม่มีกิจกรรม ไม่มีผลงานอะไรเลยจะใส่ลงพอร์ต อย่างแรกเลย สิ่งที่จะทำให้หลายคนตัดใจไม่ยื่นพอร์ตในรอบ 1 เพราะเมื่อตลอดหลายปีที่ผ่านมา ไม่ค่อยได้ไปไหน ไม่ค่อยได้ทำกิจกรรม แต่อย่าลืมว่า "ถ้าเราไม่มีผลงาน/กิจกรรมลงพอร์ต คนอื่นก็ไม่มี" อย่าปิดโอกาสเพียงเพราะคิดว่าไม่ได้ออกไปไหน ไม่มีกิจกรรม
ความกลัว ตั้งแต่ยังไม่เริ่มทำพอร์ต คืออุปสรรคขั้นแรกของการสอบติด
หลังจากปรับ Mindset จะเริ่มทำพอร์ตกันแล้ว อยากให้ย้อนกลับไปดูก่อนว่าที่ผ่านมาเราทำอะไรบ้าง นอกเหนือจากการเรียนในคาบเรียน จำคีย์เวิร์ดคำนี้ไว้ดี ๆ นะคะ "เราทำอะไรบ้าง นอกเหนือจากการเรียนในคาบเรียน"
คำนี้ คือคำสำคัญที่จะช่วยให้น้อง ๆ หาตัวเองเจอว่า อะไรคือกิจกรรมที่จะใส่ลงพอร์ตโฟลิโอได้ ลองยกตัวอย่างให้เห็นภาพกันหน่อย เช่น
กิจกรรมใส่ลงพอร์ตด้านวิชาการ
ทำโครงงาน
การแข่งขันในกิจกรรมต่าง ๆ
การส่งผลงานเข้าประกวด (ได้หรือไม่ได้รางวัลไม่รู้แหละ แต่ก็ถือว่าพอจะจับผลงานเป็นชิ้นเป็นอันได้อยู่นะคะ)
ผ่านการอบรม
ผ่านการทำแบบทดสอบที่มีการจัดเกณฑ์ จัดลำดับ เช่น สอบวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU-GET) ส่วนมาก ถ้าเกิน 500 คะแนน ก็นำมาใส่ได้เท่ห์ ๆ เลย แม้ว่าคณะจะไม่ได้ Require ให้มีผลคะแนนสอบนี้ก็ตาม (ใส่คะแนนอังกฤษกำกับลงไปแบบนี้ ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้พอร์ตโฟลิโอขึ้นมาแบบที่ไม่รู้ตัวเลยนะ)
กิจกรรมใส่ลงพอร์ตด้านความเป็นผู้นำ
ได้รับคัดเลือก
เป็นตัวแทน
อาสาเป็นผู้นำ
ที่ยกมาเหล่านี้ เป็นตัวอย่างสิ่งที่อยู่นอกเหนือชั้นเรียน เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ โดยไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์บ้านเมือง ทุกคนสามารถเข้าอบรมออนไลน์อะไรก็ได้ตามความสนใจของเรา (แนะนำว่า ถ้าตรงกับสาขาที่เราจะยื่นจะดีมาก ใครเก็บผลงานไม่เป็น ลองกลับไปอ่านบทความ "ทำพอร์ต 10 หน้า ต้องมีอะไรบ้าง?" นี้ดูนะคะ จะมีไอเดียเรื่องการคัดเลือกผลงานมาใส่พอร์ตโฟลิโอให้หมดเลย) หรือไปสอบ TU-GET ซึ่งมีทั้งแบบสอบออนไลน์ และสอบออนไซต์ ดังนั้นการบอกว่า ไม่มีกิจกรรมเลย ดูเป็นเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้นแล้วใช่ไหมหละ :) เพียงแค่เปลี่ยนมุมมอง ลองไปดูอดีตที่ผ่านมาของเรา ตรงไหนขาด ก็ไปอุดรอยรั่ว หากิจกรรมมาเสริม มองในมุมที่ต่างจากคนอื่น เพียงเท่านี้เราก็สามารถมีกิจกรรมใส่ลงพอร์ตได้ โดยไม่ต้องรอให้คุณครูมาเลือกเราไปทำกิจกรรมแล้ว
อย่ารอ! ให้คนมาเลือกเรา แต่เราต้องเป็นฝ่าย เลือก กิจกรรม
และ สร้าง ผลงานไปลงพอร์ตเอง
ข้อห้ามนี้ กาดอกจัน 18 ล้านดอกตัวโต ๆ ว่า ห้ามเด็ดขาด! ที่จะทำพอร์ตตอนใกล้ส่ง
ไม่ได้เลยนะคะ ห้ามเด็ดขาด เพราะนอกจากงานจะออกมาไม่ดี ทำด้วยความเร่งแล้ว น้อง ๆ จะพลาดรายละเอียดสำคัญอีกหลายอย่างเลยในการทำพอร์ต ไม่ว่าจะเป็น
ความเนี้ยบ ในการตรวจเช็คงาน ทั้งเรื่องของเนื้อหา ตัวสะกด และการดีไซน์
สมาธิ ในการถ่ายทอดเรื่องราว หลายคนอาจจะไม่รู้ว่าน้อง ๆ ใน คลาสทำพอร์ตของ TUTORRUS หลายคน ต้องรื้อแก้คำบรรยายกิจกรรมใหม่ทั้งหมด หรือต้องแก้เหตุผลที่อยากเข้าศึกษา (SOP) ใหม่อีกหลายรอบมาก ๆ กว่าจะ Final มาเป็นเวอร์ชั่นที่ส่งกรรมการได้ รู้อย่างนี้แล้ว เข้าใจแล้วหรือยังคะว่า ถ้าจะสอบติดคณะที่ใช่ มหา'ลัยที่ชอบ ต้องใช้เทคนิค ความเข้าใจในเนื้อหา ในการบรรยายถ่ายทอดออกมาอย่างดีเผื่อให้ไม่หลุดจากคณะที่ต้องการ เพิ่มโอกาสในการสอบติดอีกด้วย
โอกาสสุดท้ายก่อนส่ง สารพัดปัญหาที่เจอมาแล้วถ้าพลาดแล้ว คือพลาดเลย จบกัน กับพอร์ตทั้งหมดที่ทำมา เพราะหลายครั้งที่เวลาจะส่งพอร์ต มักจะติดปัญหาที่ไม่คาดคิด เช่น อัปโหลดไฟล์พอร์ตไม่ได้ ไฟล์ใหญ่เกินบ้าง ติดปัญหาทางเทคนิคมาก หรือถ้าต้องส่งต้นฉบับให้กับคณะ จะมีปัญหาเรื่องการส่งไปรษณีย์ นับวันประทับตรา หรือจะนับวันที่ส่งถึงคณะอีก ทำให้น้อง ๆ ต้องมาคอยลุ้นว่าส่งพอร์ตได้เสร็จสมบูรณ์หรือไม่
Comments