เทคนิคสอบติด BC TU รอบ Portfolio ! เกณฑ์คะแนน และสิ่งที่ต้องรู้ก่อนยื่นคะแนน
Updated: Nov 17

Business Communication (BC) คือ คณะการสื่อสารเชิงธุรกิจ ภาคอินเตอร์ของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นอีกหนึ่งคณะมาแรง เหมาะกับน้อง ๆ ที่มีความสนใจทั้งภาษาและธุรกิจ เพราะมีหลายภาษาให้เลือกเรียนเลยค่ะ ทั้งภาษาอังกฤษ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี และในบล๊อกนี้พี่แน๊ตจะพาทุกคนมาเก็บเทคนิคปั้น Portfolio ให้ปัง ถ้าพร้อมแล้ว ไปลุยกันเลยค่ะ
BC มีกี่สาขา?
Business Communication (BC) แบ่งออกเป็น 4 สาขา ดังนี้
ภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจ (Business English Communication)
ภาษาจีนเชิงธุรกิจ (Business Chinese Communication)
ภาษาญี่ปุ่นเชิงธุรกิจ (Business Japan Communication)
ภาษาเกาหลีเชิงธุรกิจ (Business Korean Communication)
2 Check ต้องรู้ก่อนสมัคร BC
น้อง ๆ หลายคนที่อยากเข้า BC แต่ยังไม่รู้จะเริ่มตรงไหนดี พี่แน๊ตแนะนำทำตามนี้เลยค่ะ
Check ว่าตัวเราอยากเข้าสาขาไหน
เพราะว่ารายละเอียดการยื่นคะแนนของแต่ละสาขาจะมีความแตกต่างกันเล็ก ๆ น้อย ๆ ค่ะ และถ้าหากน้อง ๆ รู้แล้วว่าตัวเองอยากเรียนคณะ BC ในสาขาไหน หลังจากนั้นไปต่อข้อที่ 2 เลยค่ะ
2. Check Requirement ( Update ล่าสุด)
Requirement หรือ เกณฑ์คะแนนของคณะ สิ่งนี้สำคัญมาก ๆ เลยค่ะ เพราะในแต่ละปีอาจจะจะมีการปรับใหม่ ดังนั้นเราต้องหาข้อมูลให้เรียบร้อย เตรียมเอกสารให้พร้อม เก็บคะแนนให้ถึง เพื่อให้มั่นใจว่าเราจะสามารถยื่นสมัครได้ และด้านล่างนี้คือเกณฑ์คะแนนฉบับล่าสุด 2023 ที่พี่แน๊ตรวบรวมมาให้แล้วค่ะ
เกรดเฉลี่ย
GPAX 3.00 ขึ้นไป (4-6 เทอม)
หรือ GED ขั้นต่ำ 600 (ต้องมีคะแนน ≥ 145 ทุกวิชา)
2. ผลการสอบวัดคะแนนภาษาอังกฤษ (English Test) สามารถเลือกสอบได้และอายุผลสอบไม่เกิน 2 ปี
Sat ขั้นต่ำ 350
IELTS ขั้นต่ำ Band 6
TU-GET CBT ขั้นต่ำ 61
TU-GET PBT ขั้นต่ำ 600
TOEFL IBT ขั้นต่ำ 61
3. แฟ้มผลงาน Portfolio
4. การสอบสัมภาษณ์ออนไลน์ (Online Interview)
English major สัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ
Japanese, Chinese, and Korean majors สัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ และภาษาที่สาม
สำหรับผู้ที่ยื่นสาขา Chinese, Japanese, Korean
5. คะแนนสอบของภาษาที่ 3 (Third language test results) โดยที่ผลสอบไม่เกิน 2 ปี
ภาษาจีน Chinese - HSK ขั้นต่ำ Level 2
ภาษาญี่ปุ่น Japanese - JLPT ขั้นต่ำ Level N4
ภาษาเกาหลี Korean - TOPIK ขั้นต่ำ Level 2
แต่หากน้อง ๆ ไม่มีคะแนนการสอบวัดระดับภาษาต้องมีผลการเรียนที่โดดเด่นในภาษานั้น ๆ และควรใส่ผลงาน/รางวัลที่เกี่ยวกับภาษาที่ 3 แทนค่ะ
ข้อกำหนดพอร์ตของคณะ BC
กำหนด Template ให้ใช้ ไม่ต้องออกแบบเอง
กำหนดไม่เกิน 4 หน้ากระดาษ โดยที่ต้องประกอบไปด้วย 3 อย่างนี้
ประวัติส่วนตัว 1 หน้า
Statement of Purpose (SOP) 1 หน้า
Awards/Certificates ไม่เกิน 2 หน้า
เทคนิคการทำ Portfolio
ประวัติส่วนตัว
น้อง ๆ ต้องเขียนประวัติตัวของเรา เช่นชื่อ อายุ โรงเรียน เพื่อบอกให้กรรมการรู้ว่าเราคือใคร โดยที่หน้านี้ควรที่จะแนบรูปด้วยนะคะ
2. Statement of Purpose (SOP)
SOP เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ พี่อยากให้น้อง ๆตั้งใจเขียน เพราะถึงแม้ผลงานดีแค่ไหน แต่เขียน SOP ไม่ดีก็มีโอกาสไม่ติดสูงมาก โดยที่ SOP ที่ดีควรมี 4 สิ่งนี้
ประวัติตัวเรา (ชื่อ และโรงเรียน)
เหตุผลทำไมอยากเข้าคณะนี้
ใน 3-5 ปีข้างหน้ามีเป้าหมายอย่างไร
เราจะทำอะไรให้กับคณะ BC ได้บ้าง
แนะนำว่าให้ List ออกมาก่อนว่าจะเขียนอะไรและ Plan การเขียนก่อนเขียนจริง หลังจากนั้นควรตรวจทานเรื่องการสะกด และแกรมม่าค่ะ
3. ผลงาน/รางวัล (Awards/Certificates)
ผลงานใส่ Portfolio มีความสำคัญเช่นเดียวกัน เพราะผลงานที่โดดเด่นก็จะสามารถช่วยเพิ่มคะแนนให้น้อง ๆ ได้ โดยที่ผลงาน รางวัล หรือใบเกียรติบัตรค่าย จิตอาสา ควรที่จะเกี่ยวข้องกับคณะ
ผลงานที่ควรใส่ใน Portfolio
Business and Management Skills หรือผลงานที่แสดงความสามารถของน้อง ๆ ในด้านการจัดการและธุรกิจ
Language and Culture หรือผลงานที่แสดงทักษะภาษาและกิจกรรมด้านวัฒนธรรมต่าง ๆ
Green Living and Sustainability หรือผลงานที่แสดงถึงการอนุรักษ์โลกและสิ่งแวดล้อม
The World of Digital Communication and Technology หรือผลงานเกี่ยวกับด้านเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่น้อง ๆ มีโอกาสได้ประดิษฐ์หรือได้เข้าร่วม
ดังนั้นน้อง ๆ ควรวางแผนให้ดีว่าเราต้องการกี่ผลงานโดนจัดผลงานตามประเภทด้านบน เติมด้านที่ขาด และควรใส่รูปที่เห็นเราในกิจกรรมนั้น เช่น รูปที่เห็น action ของเราว่าเรากำลังทำอะไร และใต้ภาพต้องเขียนคำบรรยายด้วยนะคะ
คำบรรยายรูปภาพในพอร์ต
วันที่เข้าร่วมกิจกรรม (Date/ Duration of activity)
ชื่อของกิจกรรม (Subject related)
สถานที่ (Place of event)
ชื่อผู้จัดกิจกรรม (Event Organizer)
ประเภทของกิจกรรม (Type of Event) แบ่งออกเป็น Local, Regional, National, International
ประเภทของผู้เข้าร่วม (Type of participant) แบ่งออกเป็น Participant, Competitor with, First Prize, Second Prize, and others
คำบรรยายกิจกรรม (Description)
คำแนะนำจากพี่คือน้อง ๆ ควรเขียนให้คำบรรยายผลงานสอดคล้องกับคณะให้มากที่สุดในช่อง Description และตรวจสอบให้ดีว่าไม่มีจุดให้แก้ ก่อนยื่นจริงค่ะ