รีวิว TU-GET CBT ข้อสอบเป็นอย่างไร?
top of page

รีวิว TU-GET CBT ข้อสอบเป็นอย่างไร?

Updated: Dec 26, 2022



หลายคนคงเคยรู้จักกับการสอบ TU-GET แบบทั่วไปมาเป็นอย่างดี ว่าเป็นข้อสอบวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษ ของผู้ที่ต้องการสมัครเข้าเป็นนักศึกษา ทั้งปริญญาตรี/ โท/ เอก ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใช้สำหรับการสอบเพื่อยื่นคะแนนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือต้องการทดสอบระดับความรู้ภาษาอังกฤษของตัวเอง

แต่พอได้ยินคำว่า "TU-GET CBT" ก็สงสัยขึ้นมาทันทีว่า TU-GET CBT คืออะไร?


ดูรีวิวการสอบและเทคนิค


Blog นี้ TUTORUS เลยจะมารีวิวข้อสอบ TU-GET CBT ให้ทุกคนเข้าใจกันว่า ข้อสอบแบบนี้เป็นอย่างไร และเทียบกันให้เห็น ๆ ว่าข้อสอบแบบ CBT ต่างจาก TU-GET PBT ปกติอย่างไรบ้าง...ถ้าพร้อมแล้ว มาลุยในแต่ละส่วนกันเลย



รีวิว 8 หัวข้อ ในการสอบ TU-GET CBT พร้อมเทคนิคในการทำข้อสอบ (ท้าย Blog)

1. วิธีการทำข้อสอบ

  • TU-GET (PBT) หรือ Paper-Based Test เป็นการสอบกับกระดาษคำตอบโดยปกติทั่วไปอย่างที่เรารู้จักกัน แต่...

  • TU-GET (CBT) หรือ Computer-Based Test เป็นการทำข้อสอบกับ "คอมพิวเตอร์" ใช่ค่ะ! ลืมไปเลยว่าเคยทำกับกระดาษ เพราะเราจะต้องอ่านคำถามจาก Screen ใช้เมาส์ ใช้คีย์บอร์ด ในการทำข้อสอบ!!


2. ข้อสอบ TU-GET CBT เป็นอย่างไร?

  • TU-GET PBT โดยปกติ จะมี 3 Parts ด้วยกัน ดังนี้

  1. Structure 25 ข้อ (250 คะแนน)

  2. Vocabulary 25 ข้อ (250 คะแนน)

  3. Reading 50 ข้อ (500 คะแนน)

รวมคะแนนทั้งสิ้น 1,000 คะแนน

  • TU-GET CBT มีทั้งหมด 4 Parts ดังนี้

  1. Reading 40 ข้อ (30 คะแนน)

  2. Listening 40 ข้อ (30 คะแนน)

  3. Speaking 1 ข้อ (30 คะแนน)

  4. Writing 1 ข้อ (30 คะแนน)

รวมคะแนนทั้งสิ้น 120 คะแนน


3. ทำไม TU-GET CBT กับ PBT ข้อสอบต่างกัน?

  • ข้อสอบแบบ CBT เป็นข้อสอบแบบเทียบเคียง TOEFL iBT ดังนั้นรูปแบบข้อสอบจึงแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

  • ข้อสอบ CBT ออกแบบมาเพื่อให้ผู้เข้าสอบ สามารถนำคะแนนที่ได้ไปวัดผลกับการสอบ TOEFL สำหรับประเมินทักษะความรู้ภาษาอังกฤษของตนเอง


4. TU GET CBT กับ TU GET PBT สอบแบบไหนยากกว่ากัน?

  • ในส่วนนี้ บอกได้เลยว่าขึ้นกับความถนัดของแต่ละคนค่ะ เพราะข้อสอบ จะมีมาตรฐานการวัดคะแนนกันคนละแบบ

  • ซึ่งหลังจากที่ทางทีม TUTORRUS ของเราได้ไปทำการสอบมา เพื่ออัพเดทแนวข้อสอบสำหรับการติว TU-GET ของทางสถาบัน พวกเราได้ลงความเห็นกันว่า ชอบการสอบแบบ CBT มากกว่า เพราะรู้สึกสนุก ไม่ง่วงนอน 5555 เนื่องจากมีหลายพาร์ทให้ทำ และสามารถควบคุมเวลาได้ด้วยตัวเอง

  • เอาเป็นว่า สอบทั้ง 2 แบบเลยค่ะ ถ้าคณะรับทั้ง 2 แบบ จะได้รู้ว่าเราถนัดแบบไหน และยื่นคะแนนที่ดีที่สุดในการสมัครสอบ

5. การสอบ TU GET CBT ต้องเตรียมอะไรไปบ้าง?

  • ไม่ต้องเตรียมอะไรไปเลยค่ะ นอกจากบัตรประชาชน หรือพาสปอร์ต นอกนั้นอุปกรณ์การสอบเค้ามีแจกให้หมดแล้ว

  • Extra ที่มีมาให้ผู้เข้าสอบ คือ กระดาษ A4 1 แผ่น และดินสอไม้เหลาแหลม ๆ ไว้ให้เรานั่นเอง (เอาออกจากห้องสอบไม่ได้นะคะ สอบเสร็จแล้ววางคืนไว้ที่เดิมได้เลยค่า)

6. การสมัครสอบ

  • การสมัครสอบ CBT และ PBT ไม่แตกต่างกัน สามารถสมัครทางออนไลน์ได้ทั้ง 2 แบบเลย ง่ายมาก ๆ

  • แต่!! สิ่งที่ต้องระวังคือ PBT จะเปิดรับสมัครทุกวันที่ 1-15 ของเดือน

  • ในขณะที่ CBT จะเปิดรับสมัครทุกวันที่ 16-30 หรือ 31 ของทุกเดือน

  • สมัครสอบให้ทันกันนะคะ ไม่เช่นนั้นแล้ว ค่าสมัครสอบ จะแพงขึ้น! และต้องไปสมัครสอบด้วยตัวเองที่ อาคารสถาบันภาษา มธ. ท่าพระจันทร์

7. ราคาค่าสอบ

  • TU-GET CBT ค่าสอบ 1,000 บาท

  • TU-GET PBT ค่าสอบ 500 บาท

  • อย่างที่เตือนไว้ตอนแรก ว่าทั้ง 2 แบบนี้ เปิดรับสมัครในช่วงวันที่ไม่ตรงกัน ดังนั้นหากเราสมัครไม่ทัน ราคาจะขึ้น จาก 1,000 เป็น 1,500 บาท และจาก 500 ก็จะขึ้นเป็น 700 บาท

8. เวลาในการสอบ TU-GET CBT

  • เวลาในการทำข้อสอบ คือส่วนที่อันตรายมากในการทำข้อสอบ เราต้องคอยดูเวลาให้ดีว่าแต่ละพาร์ทเหลือกี่นาที จะไม่มีเจ้าหน้าที่มาบอกเรา (ตัวใครตัวมันนะคะ)

  • พาร์ทไหนทำเสร็จเร็ว ก็ข้ามไปได้เลย แต่...ไม่ใช่ว่าทำ Reading เสร็จเร็ว แล้วเวลาที่เหลือของ Reading จะนำมาทบใน Part ถัด ๆ ไปได้

  • นั่นหมายความว่า เวลาทุกนาทีในการทำข้อสอบแต่ละ Part มีค่า ไม่สามารถทบได้ ใช้ทุกนาที คิดให้ดีก่อน (ช้าแต่ชัวร์ดีกว่าค่ะ)

  • 9. สารพัดปัญหาที่เจอในการทำข้อสอบ TU GET CBT

  • เราจะนำมาสรุปให้ดูใน Blog ถัดไป เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเจอระหว่างการสอบได้ อย่าลืมติดตามกันนะคะ


สรุปเทคนิคการสอบ TU-GET CBT มีอะไรบ้าง?
  • เนื่องจากเป็นการสอบกับคอมพิวเตอร์ ดังนั้นทุกคนจะไม่มีสิทธิ์ข้ามไปดูโจทย์ข้ออื่นได้ก่อนนะคะ ดังนั้น มีสติ รอบคอบ คิดให้ดีก่อนที่จะกด เพราะเราไม่สามารถกดมาแก้คำตอบได้เช่นกัน

  • การสอบแบบ CBT จะมีนาฬิกาจับเวลาขึ้นบน Screen เลย ดังนั้น รับผิดชอบตัวเอง คอยเช็คเวลาและ Balance การทำข้อสอบให้ดี ๆ

  • ถ้ากดส่งข้อสอบ/ Upload ไฟล์ข้อมูลในพาร์ท Speaking และ Writing ไม่ทัน ทำอย่างไร...คำตอบคือ ทำอะไรไม่ได้ เพราะคะแนนในพาร์ทนั้นจะเหลือ 0 ทันทีค่ะ

  • เวลาในแต่ละ Part ไม่ได้ Fix เสร็จก่อนก็สามารถทำส่วนถัดไปได้ทันที ไม่ต้องรอเวลานะคะ

  • ฝึกซ้อมใช้คอมพิวเตอร์ให้ถนัด เพราะจะมีพาร์ทที่ต้องกดคำตอบ และพิมพ์ Essay Writing (เขียนส่งไม่ได้นะคะ) ดังนั้น พิมพ์ช้า ก็มีโอกาสส่งข้อสอบไม่ทันเช่นเดียวกัน

  • กระดาษ A4 และดินสอไม้เหลาแหลม ๆ ที่เค้าเตรียมมาให้ ใช้ให้เป็นประโยชน์! จด Keyword จดคำตอบที่เราเตรียมไว้ให้ดี จะได้ไม่พลาดคะแนนไปอย่างน่าเสียดาย

  • ไม่ต้องกดดันตัวเอง คนอื่นที่ทำเร็วกว่า ลุกกลับบ้านก่อนตั้งแต่ชั่วโมงแรกก็มี แต่ก็ปล่อยไปค่ะ โฟกัสกับตัวเองให้ดีที่สุดเพื่อคะแนนเต็ม 120 ของเรา :)


เป็นอย่างไรกับบ้างคะ สำหรับรีวิวการสอบ TU-GET (CBT) แค่เตรียมตัวให้พร้อม ฝึกทำแบบฝึกหัด และจับเทคนิคให้ได้ ก็จะช่วยให้ได้คะแนนดีอย่างแน่นอน :)


สำหรับใครที่สอบ TU-GET แบบ PBT ไม่ผ่านซักที หรือคะแนนสอบยังไม่ถูกใจ ลองมาสอบแบบ CBT กันดูนะคะ ช่วยเพิ่มโอกาสในการสอบติดให้กับเราอย่างแน่นอน



อยากเตรียมตัวให้แม่น เพิ่มโอกาสสอบติดในโค้งสุดท้าย TUTORRUS เปิดติว TU-GET (CBT) กลุ่มเล็กเท่านั้น รวมเก็งข้อสอบใหม่ล่าสุด พร้อมเทคนิคเพียบ! ติวครบทุก Part กวาดคะแนนเต็ม 120 ไม่ได้ยากอย่างที่คิด รายละเอียดคอร์สเพิ่มเติม คลิกดูที่นี่เลย https://www.tutorrusstudy.com/tuget


  • สอนโดยติวเตอร์เกียรตินิยมอันดับ 1จากจุฬาฯและปริญญาโทจาก Imperial College London มหา'ลัย Top 3 ของ UK และ Top 8 ของโลก

  • ประสบการณ์สอนกว่า 11 ปี เน้นเทคนิคเด็ด สำหรับทำข้อสอบ

  • รีวิวนักเรียนสอบผ่านเพียบ!






บทความที่เกี่ยวข้อง
bottom of page